เมนู

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่สัญโญชนธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลัง ๆ ฯลฯ แม้ทั้ง2 วาระ (วาระที่ 5-6)
ก็พึงกระทำอย่างที่กล่าวมาแล้ว.
7. สัญโญชนธรรม และธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม
เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
มี 3 วาระ
(วาระที่ 7-8-9)

5. สมนันตรปัจจัย


1. สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญญชนธรรม
ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
มี 9 วาระ.

6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[432] 1. สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
สัญโญชนธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนธรรมทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย แม้ทั้ง 3 วาระ ก็เหมือนอย่างนี้.
4. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ
เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.